ข้อมูลพื้นฐานอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว
1. ความเป็นมาของอุทยานแห่งชาติ
น้ำตกทรายขาว เดิมชาวบ้านเรียกว่า น้ำตกตะโกน มี
ต้นน้ำเกิดจากยอดเขานางจันทร์ในทิวเขาทรายขาว เทือกเขาสันกาลา คีรี
ถูกค้นพบโดยพระครูศรีรัตนากร (ท่านสีแก้ว) เจ้าอาวาสวัดทรายขาว
เมื่อปี พ.ศ. 2475
กรมป่าไม้ได้จัดตั้งวนอุทยานน้ำตกทรายขาว โดย
การรวมวนอุทยานทั้ง 2 แห่ง คือ อุทยานน้ำตกทรายขาว และวน
อุทยานโผงโผง เข้าด้วยกันและจักตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28
พฤษภาคม 2551 ประกอบด้วย ป่าเขาใหญ่ ในท้องที่ตำบลป่าบอน
(ปัจจุบันแยกเป็นตำบลช้างให้ตก) ตำบลทรายขาว ตำบลนาประดู่ ตำบลทุ่งพลา ตำบลปากล่อ อำโคกโพธิ์
จังหวัดปัตตานี ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา ตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา และ ป่าเทือกเขาสัน
กาลาคีรี ในท้องที่ตำบลบ้านโหนด ตำบลเปียน ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เนื้อที่
ประมาณ 43,482.00 ไร่ หรือ 69.57 ตารางกิโลเมตร
2. แผนแม่บทในการจัดการอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาวไม่มีการจัดทำแผนแม่บทในการจัดการอุทยานแห่งชาติ
3. ลักษณะทางกายภาพ
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ทั้งหมดอยู่บริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นเทือกเขายาวที่สลับซับซ้อนติดต่อกัน
มียอดเขานางจันทร์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ส่วนใหญ่พื้นที่จะลาดลงไปทางทิศตะวันตก เป็นที่เนินเขา และเป็น
ที่ราบ
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศจะมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน
ฤดูฝนอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนมกราคม จะมีฝนตกตลอด แต่จะตกชุกในช่วงเดือนตุลาคม-เดือน
ธันวาคม และฤดูร้อนจะอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน อากาศจะไม่ร้อนจัดนัก
สภาพธรณีวิทยา
ดิน โดยทั่วไป เป็นดินเหนียวปนทราย ซึ่งมีเปอร์เซ็นของทรายสูง
หิน ส่วนใหญ่เป็นหินปูนและหินแกรนิต
4. ความสำคัญของพื้นที่
อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาวเป็นต้นกำเนิดของห้วยทรายขาว ห้วยโผงโผง ห้วยบอน
ห้วยแกแดะ ห้วยลำหยัง ห้วยคลองเรือ ห้วยต้นตะเคียน ห้วยลำชิง และห้วยลำพะยา ซึ่งไหลมารวมกัน
เป็นแม่น้ำเทพา
5. ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ ที่ได้จากการศึกษาวิจัยและโดยวิธีการอื่น
พืชพรรณ
ป่าดิบชื้น ขึ้นอยู่ในสภาพพื้นที่ที่ดินอุดมสมบูรณ์ทั่วไป ทั้งที่ในที่ราบเชิงเขาและภูเขา
ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ยาง สยา กะบาก หลุมพอ ไข่เขียว สะตอเหรียง หยี ตะเคียนทอง ตะเคียนชันตา
แมว มังคะ หลันตัน ส่วนไม้พื้นล่างได้แก่ ระกำ หวาย เฟิร์น เถาวัลย์ และกล้วยไม้ ชนิดต่าง ๆ
ป่าดิบ ขึ้นอยู่ในสภาพพื้นที่ที่มีดินอุดมสมบูรณ์น้อย มีเปอร์เซ็นของทรายสูง ส่วนมาก
พบในที่ราบ ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ยาง ตะเคียนต่าง ๆ ตำเสาและกะบาก เป็นต้น
สัตว์ป่า
สัตว์ท้องถิ่น เป็นสัตว์ที่มีอยู่ดั้งเดิมในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ได้แก่เลียงผา
หมูป่า เก้ง เม่น กระจง ลิง ชะนี อีเห็น กระรอก เป็นต้น
สัตว์ประเภทสัตว์ปีก เช่น นกชนิดต่างๆ เช่น นกขุนทอง นกกางเขน นกปรอด ต่าง ๆ
นกเหยี่ยว นกดุเหว่า ฯลฯ อาศัยอยู่ในป่าทั่วไป
สัตว์น้ำ เช่น ปูหิน ตะพาบน้ำ กุ้ง ปลาชนิดต่าง ๆ อาศัยอยู่ตาม ลำห้วยทั่วไป
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ เขียด คางคก คางคกภูเขา (กง) อึ่งกลายหัวแหลม เป็นสัตว์
ที่หายาก อาศัยอยู่ตามลำห้วย และที่ชื้นแฉะทั่วไป
สัตว์ป่าประเภทเลื้อยคลาน เช่น งูเหลือม งูเห่า งูกะปะ เต่า ตะกวด กิ่งกาบิน ซึ่ง อาศัยอยู่
ในป่าทั่วไป
แหล่งท่องเที่ยว
น้ำตกทรายขาว น้ำตกทรายขาว เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ตั้งอยู่
ที่หมู่ที่ 5 ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นน้ำตกที่ไหลลงมาจากหน้าผาสูงประมาณ 40
เมตร ไหลลดหลั่นจากยอดเขานางจันทร์ ลงตามหุบเขา สู่ที่ราบเบื้องล่างลงมาเป็นชั้น ๆ ซึ่งบางตอนเกิด
เป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่และเป็นหน้าผาสูงชันมองดูสวยงามรวม 10 ชั้น มีทางเท้าคอนกรีตเดินขึ้นถึงตัว
น้ำตก ระยะทางประมาณ 400 เมตร สองข้างทางลำธารมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมตลอดทางเดินร่มเย็นสบาย
จุดชมวิวเขาหินช้าง (ยอดเขาหินช้าง) จุดชมวิวเขาหินช้าง (ยอดเขาหินช้าง) เป็นส่วน
หนึ่ง ของยอดเขานางจันทร์ มีความสูงประมาณ 500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ยอดเขามีลานกว้างประมาณ
2 ไร่เศษ มีหินสลักพระนามาภิไธยสมเด็จพระศรีนคริน
ทราบรมราชชนนี และพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีทางเดินศึกษาธรรมชาติ
ที่ เมื่ออยู่บนยอดเขาสามารถมองเห็นทัศนียภาพเป็นทิวทัศน์
ของพื้นที่ราบตอนล่าง และชายทะเลของจังหวัดปัตตานี
ระยะทางจากที่ทำการอุทยานฯ ถึงจุดชมวิวเขาหินช้าง
ระยะทางประมาณ 1,400 เมตร
ถ้ำวิปัสสนาเขาหินช้าง ถ้ำวิปัสสนาเขาหินช้าง เป็นถ้ำที่ประดิษฐ์สถานพระพุทธรูปไม้
แกนลั่นทม คาดว่ามีอายุประมาณ 200 กว่าปี จากการบอกเล่าของชาวบ้านตำบลทรายขาว เล่าว่าหลวงปู่
ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด และอดีตจ้าอาวาสวัดทรายขาว (ท่านอาจารย์นอง) นั่งวิปัสสนา ณ ถ้ำแห่งนี้ ซึ่งถือ
ว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านตำบลทรายขาวและตำบลใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือ
ยอดเขาสูงสุดสันกาลาคีรี ยอดเขาสูงสุดสันกาลาคีรี เป็นสถานที่หนึ่งที่มีความสวยงาม
ผู้ไปเยือนจะได้สัมผัสกับธรรมชาติของป่าดิบชื้น และความหลากหลายทางชีวภาพ จุดนี้มีความสูงจาก
ระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร ใช้เวลาเดินทางเท้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ถึงยอดเขาสันกาลาคีรี
ประมาณ 5.30 ชั่วโมง (เส้นทางนี้อยู่ในโครงการ ท่องไพรเชิงอนุรักษ์พิชิตยอดเขาสันกาลาคีรี) ซึ่งมี
จุดเด่นน่าสนใจมากมาย อาทิ ถ้ำศักดิ์สิทธิ์ หินสลักพระนามาภิไธย หม้อมหัศจรรย์ ซากเครื่อง บินตก
ฯลฯ
น้ำตกโผงโผง น้ำตกโผงโผง ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
เป็นน้ำตกที่เกิดจากยอดเขานางจันทร์ มีความสูงประมาณ 80 กิโลเมตร บริเวณน้ำตกร่มรื่นไปด้วยต้นไม้
น้อยใหญ่ อากาศเย็นสบาย เหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจและตั้งแค้มป์หรือ ค่ายพักแรม
น้ำตกพระไม้ไผ่ น้ำตกพระไม้ไผ่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย
จังหวัดสงขลา เป็นน้ำตกที่เกิดจากต้นน้ำยอดป่าเขาใหญ่ไหลลงสู่ แม่น้ำเทพา มีความสูงประมาณ 40
เมตร ไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้น ๆ มีความสวยงาม อีกทั้งยังเป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงของอำเภอสะบ้าย้อย
จังหวัดสงขลา
น้ำตกอรัญวาริน น้ำตกอรัญวาริน เป็นน้ำตกที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาวได้ทำการ
สำรวจขึ้นในปี พ.ศ. 2529 ซึ่งมีความสวยงามและความเป็น ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เกิดจากสายน้ำที่
ไหลมาจากยอดเขานาง อยู่ในท้องที่หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ลักษณะน้ำตก
แบ่งเป็น 7 ชั้น ไหลคดเคี้ยว และมีแอ่งน้ำอยู่หน้าน้ำตกที่สวยงามมากและร่มรื่นไปด้วยพรรณไม้นานา
ชนิด แต่เป็นน้ำตกที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้นักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมได้
6. สภาพปัญหา
1) การบุกรุกพื้นที่ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว
2) เหตุการณ์ก่อการไม่สงบในพื้นที่ เนื่องจากอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว มีอาณา
เขตติดต่อกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เจ้าหน้าที่ต้องอาศัยความระมัดระวังอย่างยิ่งในการปฏิบัติงาน
7. การศึกษาวิจัยในพื้นที่
1. การศึกษาวิจัยเรื่อง : การวิจัยและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบยั่งยืนใน
ท้องถิ่น กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว อ. โคกโพธิ์ จ. ปัตตานี
ผู้วิจัย : นันทรัตน์ นามบุรี
2. การศึกษาวิจัยเรื่อง ทัศนคติของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีต่อการประกาศจัดตั้ง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว
ผู้วิจัย : สมชาย ลาภนิมิตชัย : 2546
8. วิเคราะห์ภาพรวมเพื่อนำไปสู่การศึกษาวิจัย
ทรัพยากรธรรมชาติในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาวมีความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้
เกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่เพื่อใช้ที่ดินในการทำการเกษตร รวมทั้งปัญหาความไม่สงบ ทำให้อุทยาน
แห่งชาติมีความยากลำบากในการบริหารจัดการ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา จึงควรมีการศึกษาและวิจัย
เกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
การวิจัยเพื่อการแก้ปัญหา
- ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการ
- ด้านการส่งเสริม และสนับสนุนการมีสวนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์
- ด้านการจัดการท่องเที่ยว
การวิจัยเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
- การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ
- การศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
- การปลูกจิตสำนึก และทัศนคติในการอนุรักษ์ระดับท้องถิ่น__
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น